เทศบาลนครอุดรธานี
- ข้อมูลพื้นฐาน (3)
- การบริหารงานบุคลากร (9)
- คณะผู้บริหาร (3)
- หัวหน้าส่วนราชการ (2)
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (11)
- เทศบัญญัติงบประมาณ (1)
- แผนการใช้จ่ายเงิน (1)
- กฎหมายและระเบียบ (5)
- ข้อมูลสำหรับประชาชน (15)
- ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร (5)
- ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร (5)
- E-Service (9)
- ร้องเรียนการทุจริต (3)
- หน่วยงานในสังกัด (10)
- ITA
- Q & A
- ประเมินความพึงพอใจ
ข่าวล่าสุด
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์เทศบาลนครอุดรธานีปีพ.ศ. 2560-2563
“นครอุดรธานีน่าอยู่อาศัย ร่วมใจพัฒนา
ศูนย์การค้าการลงทุนบริการด้วยหลักธรรมาภิบาล สืบสานวัฒนธรรม
น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจหลักการพัฒนา
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลนครอุดรธานี
จึงกําหนดพันธกิจหลักการพัฒนาไว้ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา
จากวิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลนครอุดรธานีนํามาสู่การกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา
5 ด้าน และ 24 แนวทางการพัฒนา ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1 : พัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ
2 : พัฒนาระบบการจราจรและระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ
3 : เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และการป้องกันปัญหาน้ำท่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการใช้ที่ดิน
1 : เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหามลภาวะและการจัดการสิ่งแวดล้อม
2 : ปรับสภาพภูมิทัศน์และเพิ่มพื้นที่สีเขียว
3 : พัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามผังเมือง
4 : เพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเสียจากสาธารณภัยและภัยพิบัติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1 : ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคนเมือง
2 : ยกระดับคุณภาพการศึกษาท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน
3 : ส่งเสริมการดํารงชีวิตของคนเมืองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4 : ส่งเสริมระบบสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ
5 : ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการ
6 : เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
7 : ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวชุมชน
1 : เสริมสร้างอัตลักษณ์ด่านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของพื้นถิ่นให้โดดเด่น
2 : ส่งเสริมและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล
3 : พัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ทักษะฝีมือแรงงาน และผลิตภัณฑ์ชุมชน
4 : ส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญาและสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าเทศบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริการประชาชนด้วยหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและบูรณาการในการพัฒนาแบบประชารัฐ
1 : เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน
2 : พัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพบุคลากร
3 : ส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแบบประชารัฐ
4 : พัฒนาประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
พันธกิจ
พันธกิจหลักการพัฒนา
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลนครอุดรธานี จึงกําหนดพันธกิจหลักการพัฒนาไว้ ดังนี้
1) พัฒนาระบบบริการพื้นฐานที่สะดวก สบายพอเพียง ได้มาตรฐาน
2) อนุรักษ์และฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมืองให้มีคุณภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
3) สร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ
สังคมและคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4) เสริมสร้างอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่น
และอํานวยความสะดวกเพื่อการค้าการลงทุน
5) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยหลักธรรมาภิบาล
6) การบูรณาการงานพัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแบบประชารัฐ
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
1) ประชาชนมีส่วนร่วมและพึงพอใจต่อการทำงานของเทศบาลที่ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีบทบาท ร่วมกันในกระบวนการสร้างสรรค์เมือง
2) เทศบาลนครอุดรธานีเป็นองค์กรชั้นนำในด้านการให้บริการประชาชน และมีพัฒนาการด้านการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
3) ให้บริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน สร้างคนคุณภาพที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ คุณธรรม และจริยธรรม
4) ประชาชนได้รับความสะดวกในการสัญจร บ้านเมืองเป็นระเบียบ น่าอยู่ น่าอาศัย
5) ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี
6) เมืองมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีโอกาสในการประกอบอาชีพอย่างทั่วถึง
7) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ
8) ศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เกิดเป็นอัตลักษณ์แห่งเมือง
9) ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข
นโยบายการบริหาร
นายกเทศมนตรีนครอุดรธานีได้แถลงนโยบายการบริหารงาน 10 ประการ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. นโยบาย : พัฒนาระบบสาธารณูปโภคทั่วถึงทุกชุมชน
เป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พัฒนา และปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ รองรับกับขนาดของเมืองและชุมชน สร้างความสะดวกสบาย ในการอยู่อาศัย และดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างมีความสุข จึงจะดำเนินการดังนี้
1.2 วางแผนขุดลอกบำรุงรักษาทางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำในเขตเทศบาลฯ ให้มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำสูงสุด
1.3 ปรับปรุงถนนในชุมชนที่เป็นถนนลูกรังให้เป็นถนนคอนกรีตให้ครอบคลุมทั้ง 4 เขต
1.4 เพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย และรวบรวมน้ำเสียไปบำบัด
1.5 ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางสำหรับทางเดินเท้า และการใช้จักรยาน ซึ่งเป็นรูปแบบการเดินทางที่ยั่งยืน
1.7 ปรับปรุงไฟฟ้าแสงสว่างภายในสวนสาธารณะให้ทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
2. นโยบาย : ส่งเสริมสวัสดิการพื้นฐานทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
เป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาของเมืองที่เกิดความแออัด ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการย้ายที่อยู่อาศัยจากการบุกรุกที่ดินของประชาชน เนื่องจากขาดการจัดการด้านที่ดินอย่างเหมาะสม ที่จะสามารถรองรับการอยู่อาศัยของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ชุมชนแออัดรวมทั้งชุมชนผู้มีรายได้น้อย ให้มีที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม เกิดความมั่นคงในการอยู่อาศัย ส่งเสริมการออมทรัพย์ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากการย้ายชุมชนไปอยู่ในที่ใหม่ ซึ่งห่างไกลจากเมือง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน จึงจะดำเนินการดังนี้
3. นโยบาย : การจราจรคล่องตัว สะดวกและปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
เป้าหมายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาจราจรและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหารถติด มลพิษทางอากาศและเสียง และอุบัติเหตุจากการจราจร ซึ่งปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในเมือง และมีแนวโน้มจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ สร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้เทศบาลนครอุดรธานีเป็นเมืองที่น่าอยู่ สะดวก และปลอดภัยในการจราจร จึงจะดำเนินการดังนี้
3.1 ก่อสร้างระบบโครงข่ายสัญญาณจราจร เชื่อมโยงกันทุกแยก
3.2 ขยายเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะ พัฒนาสถานีขนส่งและจุดเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ ให้สะอาด ทันสมัย และปลอดภัย
3.3 จัดระเบียบการใช้เส้นทาง การจอดรถให้ถูกที่เพื่อให้มีการใช้พื้นที่ถนนอย่างเต็มประสิทธิภาพ
3.4 เสริมสร้างวินัยการจราจรที่ถูกต้องและปลอดภัยแก่ประชาชน
3.6 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยทางถนน
3.8 ติดตั้งป้ายบอกทางและเครื่องหมายจราจรและป้ายจอดรถประจำทางให้ทั่วถึงภายในเขตเทศบาล
3.9 ปรับปรุงเครื่องหมายสัญญาณจราจรให้สอดคล้องกับการใช้รถ ใช้ถนนในปัจจุบัน
4. นโยบาย : เพิ่มศักยภาพในการบริหารด้านการคลัง ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน
บริหารจัดการด้านทรัพยากร และงบประมาณของท้องถิ่นที่มีอยู่จำนวนจำกัด และปรับเปลี่ยนแนวคิดการบริหารและการปฏิบัติใหม่ เพื่อพลิกฟื้นปัญหาให้เป็นโอกาสที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและคุณค่างาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์ และใช้งบประมาณอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการทำงานเพื่อประชาชน จึงจะดำเนินการดังนี้
5. นโยบาย : พัฒนาคุณภาพการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม การกีฬา รองรับประชาคมอาเซียน
เป้าหมาย เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรง มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถนำเอา ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาท้องถิ่น ให้มีสมรรถนะสามารถแข่งขันเพื่อรองรับการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียน จึงจะดำเนินการดังนี้
5.1 จัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การฝึกอบรมวิชาชีพให้เหมาะสมสอดคล้อง ตามความต้องการของท้องถิ่น
5.2 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
6. นโยบาย : สนับสนุนการมีส่วนร่วมจากประชาชนและทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์กรให้เข้มแข็ง
เป้าหมาย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันของประชาชนในชุมชน ในด้านการพัฒนา การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชน ผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้สามารถเข้าถึงระบบบริการสาธารณะที่ทั่วถึงและเป็นธรรม ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงจะดำเนินการดังนี้
7. นโยบาย : พัฒนามาตรฐานการเสริมสร้างสุขอนามัย ใส่ใจคุณภาพชีวิต ครอบครัวอบอุ่น
เป้าหมาย เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบการให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกระดับชั้นได้เข้าถึงการบริการด้านสุขภาพที่ทันสมัย ทั่วถึงเท่าเทียมกับหน่วยบริการของรัฐอื่นๆ ตลอดจนมุ่งสร้างสังคม สุขภาวะเพื่อวางรากฐานสุขอนามัยที่แข็งแรง จึงจะดำเนินการดังนี้
8. นโยบาย : ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดำเนินกิจกรรม และการปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อลดปัญหามลภาวะในเขตเมืองนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดให้มีมาตรการป้องกันและการเตือนภัย กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ธรณีพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ตลอดจน ปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองให้สวยงามเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและรองรับการท่องเที่ยว
8.1 พัฒนาลำห้วย แหล่งน้ำและที่สาธารณะให้เกิดประโยชน์ในชุมชน
8.7 ปรับปรุงทางเท้าให้งามตา สายไฟฟ้าลงใต้ดิน ให้บ้านเมืองเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
9. นโยบาย : พัฒนาระบบบริหารงานโดยเน้นให้เกิดธรรมาภิบาลและบริการที่ทันสมัย
เป้าหมาย เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการประชาชนและการจัดการสำนักงาน โดยการยกระดับมาตรฐานการบริการ มีการนำวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริการประชาชน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กร ให้สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม จึงจะดำเนินการดังนี้
9.2 กระจายอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบตามแนวนโยบายและนำไปปฏิบัติ
10. นโยบาย : สนับสนุนพลังสังคมและพลังชุมชน สร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งและดำเนินมาตรการต่อต้านสารเสพติดทุกประเภท
ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่ต้องเร่งรัดแก้ไขและเฝ้าระวังป้องกัน เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบที่รุนแรงในหลายด้าน ทั้งด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งยังคงเป็นวาระแห่งชาติ ถือเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนนโยบาย ต่อต้านยาเสพติด พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด และพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไป จึงจะดำเนินการดังนี้